พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
เข้าสู่ระบบ
หน้าแรก
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ค้นหาข้อมูล
เข้าสู่ระบบ
นางพญากรุโรงทอ ...
นางพญากรุโรงทอ พิมพ์มีหู ที่2 งานพันทิป
นางพญากรุโรงทอ พิมพ์มีหู
พระนางพญา กรุโรงทอ จ.พิษณุโลก
พระนางกรุโรงทอ เป็นพระที่ชาวพิษณุโลกรู้จักกันดี นิยมใช้เคียงคู่กับ พระกรุวัดนางพญา ที่ถูกจัดอยู่ในพระชุดเบญจภาคีอันโด่งดัง สมัยก่อนมีพ่อค้าไม้คนหนึ่งนิยมซื้อพระนางพญามาก แต่แม่บ้านของเขากลับแขวน พระนางกรุโรงทอ สอบถามได้ความว่า ชอบมากกว่าพระกรุวัดนางพญา ทั้งๆ ที่เขาก็มีอยู่หลายองค์ เมื่อถามถึงเหตุผล ก็ตอบเพียงสั้นๆ ว่า ใช้แล้วดี มีความอุ่นใจมากจากหนังสือ พระเครื่องเมืองเหนือ ได้เขียนถึง พระนางพญา กรุโรงทอ หรือ กรุวัดโพธิญาณ ว่า เป็นพระเนื้อดินเผา สีพิกุล สีแดง สีแดงคล้ำ สีเขียว และสีดำ เนื้อ มีหลายชนิด ได้แก่ เนื้อดินนุ่ม แข็งแกร่ง และเนื้อผงใบลานเผาสีดำ พุทธลักษณะ เหมือนกับพระกรุวัดนางพญา คือ นั่งขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย เข่าใน พระกรข้างขวาทอดตรงลงมา พระกรข้างซ้ายหักได้ฉาก พระกรรณแบบบายศรี ผ้าสังฆาฏิปรากฏเด่นชัด ปีกกว้าง อยู่ห่างจากองค์พระมาก เม็ดแร่หยาบ และฐานสูงหนานูนเด่นเป็นพิเศษ แตกต่างจากพระกรุวัดนางพญา ด้านข้างตัดด้วยผิวไม้ไผ่ (ตอกตัด) หลังเรียบ และมีรอยนิ้วมือ ขนาดกว้าง ๒ ซม. สูง ๒.๕ ซม. ขุดได้จากวัดโพธิญาณพุทธคุณ ดีเยี่ยมในด้านคงกระพันชาตรี พระนางพญา กรุโรงทอ หรือ กรุวัดโพธิญาณ ขุดพบในบริเวณที่ทางราชการทหารได้สร้างโรงงานทอผ้า บริเวณวัดโพธิญาณ ปัจจุบันโรงงานทอผ้านั้นได้เลิกกิจการไปแล้ว และทางราชการได้สร้างเป็นสวนสาธารณะขึ้นแทนที่ พระนางพญา กรุนี้จึงมีชื่อเรียกว่า กรุวัดโพธิญาณ หรือ กรุวัดโพธิ์ หรือ กรุโรงทอ มีความนิยมรองลงมาจากพระกรุวัดนางพญา ที่ถือเป็นพระอันดับหนึ่งของเมืองพิษณุโลก พระนางพญา กรุโรงทอ มี ๒ พิมพ์ คือ พิมพ์ไม่มีหู กับ พิมพ์มีหู เนื้อพระกรุนี้มีส่วนผสมของกรวด คล้ายกับ พระกรุวัดนางพญา จัดว่าเป็นพระเนื้อพิเศษ ด้านข้างมีรอยตัดทุกองค์ ที่เรียกว่า ข้างตอก (ตัด) เนื่องจากพุทธลักษณะ พิมพ์ทรงองค์พระของ พระกรุวัดนางพญา กับ พระนางกรุโรงทอ มีความคล้ายคลึงกันมาก และเนื้อพระก็ยังคล้ายกันอีก จึงมีปัญหาว่า พระทั้ง๒ กรุนี้ กรุไหนมีอายุการสร้างก่อนกัน หรือสร้างในสมัยเดียวกัน ? ในหนังสือ พระเครื่องปริทัศน์ ฉบับที่ ๑๔ มุจลินทร์ สุขเสรี ได้เขียนเรื่อง พระนางพญา กรุวัดโพธิญาณ ไว้ว่า ในราวปี ๒๔๘๐ ขณะที่คนงานกำลังปรับเนินดินซากพระเจดีย์ และพระวิหารเก่าบริเวณด้านเหนือของ วัดโพธิญาณ เพื่อสร้าง โรงงานทอผ้า (ของทหาร) คนงานได้ขุดพบพระเครื่องพิมพ์ต่างๆ จำนวนมาก เช่น พระพิมพ์นางพญา พระซุ้มเรือนแก้ว ว่านหน้าทอง พระมารวิชัยซุ้มเส้นคู่ และ พระท่ามะปรางค์ ฯลฯ
พระดังกล่าวนี้ได้ชื่อว่า พระกรุวัดโพธิญาณ หรือ พระกรุโรงทอ ทั้งนี้คงถือเอาการสร้างโรงงานทอผ้า จนเป็นเหตุให้มีการขุดพบพระดังกล่าวก็ได้ ต่อมาในปี ๒๕๐๕ ทหารในค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ฝั่งตะวันตก ตรงข้ามกับวัดโพธิญาณ ได้ขุดพบ พระนางพญา ในกองอิฐ ประมาณ ๖๐ องค์ เป็นพระที่มีลักษณะเนื้อและพิมพ์ทรง เช่นเดียวกับ พระนางพญา วัดโพธิญาณ ทุกประการ สันนิษฐานว่า กรมทหารแห่งนี้คงจะมีสภาพเป็นวัดเก่ามาก่อน แต่ร้างไปนานแล้ว และได้มีการนำพระนางพญา วัดโพธิญาณ มาบรรจุกรุไว้ ความเป็นมาของ วัดโพธิญาณ หนังสือ พระเครื่องปริทัศน์ ฉบับเดียวกันนี้ได้กล่าวไว้ว่า...วัดนี้เป็นวัดโบราณ เดิมชื่อ วัดโพธิ์ ยังไม่อาจสืบประวัติได้แน่นอนว่า สร้างขึ้นในสมัยใด? ใครสร้าง? แต่สันนิษฐานจากโบราณวัตถุที่ขุดพบเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๑ ก็ได้ความว่า สร้างในราว ต้นสมัยอยุธยา ต่อมาวัดนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดโพธิญาณ สถานที่ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จ.พิษณุโลก ติดกับลำแม่น้ำน่าน ฝั่งตะวันตก ติดกับโรงงานทอผ้าทางด้านใต้ ถนนเข้าวัดแยกจากถนนเอกาทศรถไปประมาณ ๑๐๐ เมตร พระนางพญา กรุวัดโพธิญาณ (กรุโรงทอ) เป็นปฏิมากรรมในสกุลช่างสมัยอยุธยา มีอายุการสร้างใกล้เคียงกับ พระกรุวัดนางพญา คือ ประมาณ ๔๐๐ ปี ในหนังสือ พระเครื่องปริทัศน์ ดังกล่าวได้ลงภาพ พระนางพญา กรุโรงทอ ที่ชนะการประกวดพระ ณ จ.ชลบุรี เมื่อปี ๒๕๑๑ เอาไว้ด้วย แสดงว่า พระนางพญา กรุโรงทอ นี้ได้รับความสนใจมานานแล้ว ปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๔๘) ก็ไม่ต้องพูดถึง ความนิยมชมชอบมีมากเป็นทวีคูณ ยิ่ง พระกรุวัดนางพญา หายากและมีราคาแพงมาก นักสะสมพระที่ชาญฉลาด จึงหันมาให้ความสนใจ พระนางพญา กรุโรงทอ กันมากขึ้น เพราะในชั่วโมงนี้ต่างมีความมั่นใจว่า พระนางพญา ทั้ง ๒ กรุนี้ มีพุทธคุณเหมือนกัน และสร้างโดยคนเดียวกันคือ พระวิสุทธิกษัตรี พระราชมารดาของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
พระนางพญา พิมพ์ใหญ่ เข่าโค้ง
พระนางพญา พิมพ์ใหญ่ เข่าตรง
พระนางพญา พิมพ์ใหญ่ อกนูน
พระนางพญา พิมพ์เล็ก สังฆาฏิ
พระนางพญา พิมพ์เล็ก ทรงเทวดา
พระนางพญา พิมพ์เล็ก อกนูนเล็ก
เป็นพระเครื่องเนื้อดินเผา ผสมด้วยผงเกสร และแร่กรวดทราย (คล้ายกับเนื้อพระขุนแผน วัดบ้านกร่าง) มี 4 สี คือ เหลือง, แดง, เขียว และดำ มีทั้งเนื้อค่อนข้างหยาบ และเนื้อละเอียดนุ่ม (กรวดทรายน้อย)
ผู้เข้าชม
12771 ครั้ง
ราคา
-
สถานะ
โชว์พระ
โดย
makara995
ชื่อร้าน
มะกะระ พระกรุ
ร้านค้า
makara.99wat.com
โทรศัพท์
0813116011
ไอดีไลน์
0818306399
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
244-0-006xx-x
พระนารายน์ทรงปืน เนื้อดิน
พระเล็บมือ หลวงปู่อ้น วัดบางจา
พระสมเด็จ ลป-ภู พิมพ์เจดีย์พิม
พระกำแพงหน้าอฺิฐ กำแพงเพชร ที่
พระยอดขุนพลเสมาตัด เนื้อชิน กร
พระนางกำแพง เม็ดมะลื่น จ-กำแพง
พระวัดพลับ พิมพ์สมาธิ
สมเด็จพระพุทธบาทปิลันท์ พิมพ์ค
พระอู่ทองฐานสำเภา กรุวัดราชบูร
เก้าสิบเก้าวัด
ร้านพระเครื่อง
กระดานสนทนา
ลงพระฟรี
สมัครสมาชิก
ติดต่อทีมงาน
ลืมรหัสผ่าน
ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
นรินทร์ ทัพไทย
Erawan
โก้ สมุทรปราการ
หมอเสกโคราช
kaew กจ.
เปียโน
หริด์ เก้าแสน
นานา
อ้วนโนนสูง
ภูมิ IR
Beerchang พระเครื่อง
varavet
เจนพระเครือง
โกหมู
Le29Amulet
KoonThong_Amulets
เจริญสุข
termboon
ยิ้มสยาม573
someman
Paphon07
พีพีพระเครื่อง
chathanumaan
Achi
somphop
อี๋ ล็อคเกต
fuchoo18
บี บุรีรัมย์
Chobdoysata
chaithawat
ผู้เข้าชมขณะนี้ 1142 คน
เพิ่มข้อมูล
นางพญากรุโรงทอ พิมพ์มีหู ที่2 งานพันทิป
ส่งข้อความ
ชื่อพระเครื่อง
นางพญากรุโรงทอ พิมพ์มีหู ที่2 งานพันทิป
รายละเอียด
นางพญากรุโรงทอ พิมพ์มีหู
พระนางพญา กรุโรงทอ จ.พิษณุโลก
พระนางกรุโรงทอ เป็นพระที่ชาวพิษณุโลกรู้จักกันดี นิยมใช้เคียงคู่กับ พระกรุวัดนางพญา ที่ถูกจัดอยู่ในพระชุดเบญจภาคีอันโด่งดัง สมัยก่อนมีพ่อค้าไม้คนหนึ่งนิยมซื้อพระนางพญามาก แต่แม่บ้านของเขากลับแขวน พระนางกรุโรงทอ สอบถามได้ความว่า ชอบมากกว่าพระกรุวัดนางพญา ทั้งๆ ที่เขาก็มีอยู่หลายองค์ เมื่อถามถึงเหตุผล ก็ตอบเพียงสั้นๆ ว่า ใช้แล้วดี มีความอุ่นใจมากจากหนังสือ พระเครื่องเมืองเหนือ ได้เขียนถึง พระนางพญา กรุโรงทอ หรือ กรุวัดโพธิญาณ ว่า เป็นพระเนื้อดินเผา สีพิกุล สีแดง สีแดงคล้ำ สีเขียว และสีดำ เนื้อ มีหลายชนิด ได้แก่ เนื้อดินนุ่ม แข็งแกร่ง และเนื้อผงใบลานเผาสีดำ พุทธลักษณะ เหมือนกับพระกรุวัดนางพญา คือ นั่งขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัย เข่าใน พระกรข้างขวาทอดตรงลงมา พระกรข้างซ้ายหักได้ฉาก พระกรรณแบบบายศรี ผ้าสังฆาฏิปรากฏเด่นชัด ปีกกว้าง อยู่ห่างจากองค์พระมาก เม็ดแร่หยาบ และฐานสูงหนานูนเด่นเป็นพิเศษ แตกต่างจากพระกรุวัดนางพญา ด้านข้างตัดด้วยผิวไม้ไผ่ (ตอกตัด) หลังเรียบ และมีรอยนิ้วมือ ขนาดกว้าง ๒ ซม. สูง ๒.๕ ซม. ขุดได้จากวัดโพธิญาณพุทธคุณ ดีเยี่ยมในด้านคงกระพันชาตรี พระนางพญา กรุโรงทอ หรือ กรุวัดโพธิญาณ ขุดพบในบริเวณที่ทางราชการทหารได้สร้างโรงงานทอผ้า บริเวณวัดโพธิญาณ ปัจจุบันโรงงานทอผ้านั้นได้เลิกกิจการไปแล้ว และทางราชการได้สร้างเป็นสวนสาธารณะขึ้นแทนที่ พระนางพญา กรุนี้จึงมีชื่อเรียกว่า กรุวัดโพธิญาณ หรือ กรุวัดโพธิ์ หรือ กรุโรงทอ มีความนิยมรองลงมาจากพระกรุวัดนางพญา ที่ถือเป็นพระอันดับหนึ่งของเมืองพิษณุโลก พระนางพญา กรุโรงทอ มี ๒ พิมพ์ คือ พิมพ์ไม่มีหู กับ พิมพ์มีหู เนื้อพระกรุนี้มีส่วนผสมของกรวด คล้ายกับ พระกรุวัดนางพญา จัดว่าเป็นพระเนื้อพิเศษ ด้านข้างมีรอยตัดทุกองค์ ที่เรียกว่า ข้างตอก (ตัด) เนื่องจากพุทธลักษณะ พิมพ์ทรงองค์พระของ พระกรุวัดนางพญา กับ พระนางกรุโรงทอ มีความคล้ายคลึงกันมาก และเนื้อพระก็ยังคล้ายกันอีก จึงมีปัญหาว่า พระทั้ง๒ กรุนี้ กรุไหนมีอายุการสร้างก่อนกัน หรือสร้างในสมัยเดียวกัน ? ในหนังสือ พระเครื่องปริทัศน์ ฉบับที่ ๑๔ มุจลินทร์ สุขเสรี ได้เขียนเรื่อง พระนางพญา กรุวัดโพธิญาณ ไว้ว่า ในราวปี ๒๔๘๐ ขณะที่คนงานกำลังปรับเนินดินซากพระเจดีย์ และพระวิหารเก่าบริเวณด้านเหนือของ วัดโพธิญาณ เพื่อสร้าง โรงงานทอผ้า (ของทหาร) คนงานได้ขุดพบพระเครื่องพิมพ์ต่างๆ จำนวนมาก เช่น พระพิมพ์นางพญา พระซุ้มเรือนแก้ว ว่านหน้าทอง พระมารวิชัยซุ้มเส้นคู่ และ พระท่ามะปรางค์ ฯลฯ
พระดังกล่าวนี้ได้ชื่อว่า พระกรุวัดโพธิญาณ หรือ พระกรุโรงทอ ทั้งนี้คงถือเอาการสร้างโรงงานทอผ้า จนเป็นเหตุให้มีการขุดพบพระดังกล่าวก็ได้ ต่อมาในปี ๒๕๐๕ ทหารในค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ฝั่งตะวันตก ตรงข้ามกับวัดโพธิญาณ ได้ขุดพบ พระนางพญา ในกองอิฐ ประมาณ ๖๐ องค์ เป็นพระที่มีลักษณะเนื้อและพิมพ์ทรง เช่นเดียวกับ พระนางพญา วัดโพธิญาณ ทุกประการ สันนิษฐานว่า กรมทหารแห่งนี้คงจะมีสภาพเป็นวัดเก่ามาก่อน แต่ร้างไปนานแล้ว และได้มีการนำพระนางพญา วัดโพธิญาณ มาบรรจุกรุไว้ ความเป็นมาของ วัดโพธิญาณ หนังสือ พระเครื่องปริทัศน์ ฉบับเดียวกันนี้ได้กล่าวไว้ว่า...วัดนี้เป็นวัดโบราณ เดิมชื่อ วัดโพธิ์ ยังไม่อาจสืบประวัติได้แน่นอนว่า สร้างขึ้นในสมัยใด? ใครสร้าง? แต่สันนิษฐานจากโบราณวัตถุที่ขุดพบเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๑ ก็ได้ความว่า สร้างในราว ต้นสมัยอยุธยา ต่อมาวัดนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดโพธิญาณ สถานที่ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จ.พิษณุโลก ติดกับลำแม่น้ำน่าน ฝั่งตะวันตก ติดกับโรงงานทอผ้าทางด้านใต้ ถนนเข้าวัดแยกจากถนนเอกาทศรถไปประมาณ ๑๐๐ เมตร พระนางพญา กรุวัดโพธิญาณ (กรุโรงทอ) เป็นปฏิมากรรมในสกุลช่างสมัยอยุธยา มีอายุการสร้างใกล้เคียงกับ พระกรุวัดนางพญา คือ ประมาณ ๔๐๐ ปี ในหนังสือ พระเครื่องปริทัศน์ ดังกล่าวได้ลงภาพ พระนางพญา กรุโรงทอ ที่ชนะการประกวดพระ ณ จ.ชลบุรี เมื่อปี ๒๕๑๑ เอาไว้ด้วย แสดงว่า พระนางพญา กรุโรงทอ นี้ได้รับความสนใจมานานแล้ว ปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๔๘) ก็ไม่ต้องพูดถึง ความนิยมชมชอบมีมากเป็นทวีคูณ ยิ่ง พระกรุวัดนางพญา หายากและมีราคาแพงมาก นักสะสมพระที่ชาญฉลาด จึงหันมาให้ความสนใจ พระนางพญา กรุโรงทอ กันมากขึ้น เพราะในชั่วโมงนี้ต่างมีความมั่นใจว่า พระนางพญา ทั้ง ๒ กรุนี้ มีพุทธคุณเหมือนกัน และสร้างโดยคนเดียวกันคือ พระวิสุทธิกษัตรี พระราชมารดาของ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
พระนางพญา พิมพ์ใหญ่ เข่าโค้ง
พระนางพญา พิมพ์ใหญ่ เข่าตรง
พระนางพญา พิมพ์ใหญ่ อกนูน
พระนางพญา พิมพ์เล็ก สังฆาฏิ
พระนางพญา พิมพ์เล็ก ทรงเทวดา
พระนางพญา พิมพ์เล็ก อกนูนเล็ก
เป็นพระเครื่องเนื้อดินเผา ผสมด้วยผงเกสร และแร่กรวดทราย (คล้ายกับเนื้อพระขุนแผน วัดบ้านกร่าง) มี 4 สี คือ เหลือง, แดง, เขียว และดำ มีทั้งเนื้อค่อนข้างหยาบ และเนื้อละเอียดนุ่ม (กรวดทรายน้อย)
ราคาปัจจุบัน
-
จำนวนผู้เข้าชม
12906 ครั้ง
สถานะ
โชว์พระ
โดย
makara995
ชื่อร้าน
มะกะระ พระกรุ
URL
http://www.makara.99wat.com
เบอร์โทรศัพท์
0813116011
ID LINE
0818306399
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกรุงเทพ / 244-0-006xx-x
กำลังโหลดข้อมูล
หน้าแรกลงพระฟรี